Health

  • จอประสาทตาเสื่อม ถ้าไม่รักษาจะสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด
    จอประสาทตาเสื่อม ถ้าไม่รักษาจะสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

    จอประสาทตาเสื่อม ถ้าไม่รักษาจะสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

    จอประสาทตาเสื่อม คือโรคที่เกิดจากจอประสาทตาในลูกตาเสื่อมสภาพ จนไม่สามารถรับภาพได้ดีเท่าเดิม โรคจอประสาทตาเสื่อมนี้จะทำให้การมองเห็นแย่ลงเรื่อยๆ มองภาพบิดเบี้ยว มองเห็นสีได้น้อยลง การมองเห็นช่วงกลางภาพหายไป เมื่อถึงจุดหนึ่งจะสูญเสียการมองเห็นส่วนใหญ่ไปในที่สุด

    จอประสาทตาเสื่อมมักจะเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคมาจากความเสื่อมของอวัยวะตามอายุ บางครั้งจึงเรียกโรคจอประสาทตาเสื่อมที่มักเกิดในผู้สูงอายุว่า Age – Related Macular Degeneration หรือที่เรียกว่า AMD นั่นเอง ผู้ป่วยโรคนี้มักรู้ตัวช้า เนื่องจากในผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการของโรคจะค่อยๆ เกิด บางครั้งก็เกิดขึ้นกับดวงตาเพียงข้าง เมื่อผู้ป่วยใช้ดวงตาสองข้างในการมองจึงไม่ทราบว่าภาพการมองเห็นของตนกำลังผิดเพี้ยนไป

    จอประสาทตาเสื่อม แบ่งเป็น 2 ชนิด

    1. จอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง (Dry AMD)

    จอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง (Dry Age – Related Macular Degeneration หรือ Dry AMD) คือโรคจอประสาทตาเสื่อมที่เกิดจากตัวเซลล์ในจอประสาทตาเสื่อมสภาพและจอตาบางลงเองตามอายุการใช้งานเมื่อมีอายุมากขึ้น พบได้มากถึง 85 – 90% ของผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมด

    อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งจะค่อยๆแสดงออกมา ผู้ป่วยจะเริ่มมองไม่เห็นในที่มืด จำหน้าคนรู้จักไม่ได้ ภาพที่เห็นเริ่มเบลอ เบี้ยวผิดรูป และการมองเห็นจะแย่ลงเรื่อยๆ หากไม่ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาจอประสาทตาเสื่อมชนิดนี้ให้หายขาดอีกด้วย

    2. จอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก (Wet AMD)

    จอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก (Wet Age – Related Macular Degeneration หรือ Wet AMD) คือโรคจอประสาทตาเสื่อมอันเกิดจากเส้นเลือดที่ผิดปกติภายในจอตา เมื่อเส้นเลือดที่ผิดปกตินั้นแตกออก เลือดและของเหลวในเลือดจะไหลออกและคั่งอยู่ในบริเวณจอประสาทตา ทำให้บริเวณนั้นบวมผิดปกติจนการรับภาพของจอประสาทตาผิดเพี้ยนไปจากเดิม

    จอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกพบได้เพียง 10 – 15% เท่านั้น และมักเป็นความผิดปกติที่เป็นผลมาจากพันธุกรรม ดังนั้นแม้จะเป็นรูปแบบที่พบได้น้อย แต่มักจะพบได้ในผู้ป่วยที่คนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกมาก่อน โดยที่จอประสาทตาเสื่อมชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นมาได้เองทันที หรือสามารถเกิดต่อเนื่องหลังเป็นจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งก็ได้

    จอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกนี้ อาการจะรุนแรงมากกว่าชนิดแห้ง อาการจะเกิดขึ้นเร็วและผู้ป่วยสามารถสูญเสียการมองเห็นส่วนใหญ่ไปภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ และมีโอกาสที่จะทำให้สูญเสียการมองเห็นทั้งหมดด้วย

    ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม

    ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าจอประสาทตาเสื่อมเกิดจากอะไร แต่ผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมมักจะมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน ดังนี้

    1. อายุ จอประสาทตาเสื่อมพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
    2. คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม จอประสาทตาเสื่อมมีโอกาสที่จะส่งต่อทางพันธุกรรมได้ทั้งชนิดแห้งและชนิดเปียก คนในครอบครัวของผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีโอกาสเกิดโรคได้มากกว่าคนทั่วไป
    3. เชื้อชาติ จอประสาทตาเสื่อมจะพบในคนเชื้อชาติคอเคเซียน (Caucasians) หรือที่เรียกว่าคนผิวขาว ได้มากกว่าเชื้อชาติอื่นๆ
    4. การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคได้มาก
    5. โรคเบาหวาน มักทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือด ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจอประสามตาเสื่อมชนิดเปียกได้มาก
    6. โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคที่เกี่ยวกับความดันโลหิด และไขมันในเลือด ซึ่งปัจจัยทั้งสองอย่างเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกได้มากเช่นเดียวกัน

    สิ่งหนึ่งที่ผู้คนเข้าใจผิดอย่างมากเกี่ยวกับโรคจอประสาทตาเสื่อม คือการใช้สายตามากไป อย่างการเล่นโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือแสงยูวีจากแดด ทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่เลย แม้การใช้สายตามากเกินไป หรือรังสียูวีในแสงแดดจะทำให้เกิดโรคต้อ หรือโรคอื่นๆกับดวงตาได้ แต่ไม่ได้มีผลทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้แต่อย่างใด

    สาเหตุและอาการของโรคจอประสาทตาเสื่อม 

    โดยปกติแล้ว จอประสาทตา (Macula หรือ Macula lutea) เป็นกลุ่มของเซลล์ในพื้นที่หนึ่งของจอตา (Retina) จอประสาทตาจะมีหน้าที่ทำให้คนเรามองจุดโฟกัสกลางสายตาชัดกว่าภาพการมองเห็นในส่วนอื่นๆ

    อย่างเช่นเวลาอ่านหนังสือ ผู้อ่านจะอ่านออกแค่ตัวหนังสือในบริเวณกลางภาพในตำแหน่งที่เรามองไปเท่านั้น เราอาจจะอ่านคำที่อยู่ติดกันได้ แต่ไม่สามารถอ่านคำที่ห่างออกไปมากกว่านั้นได้ เนื่องจากภาพตัวหนังสือที่อยู่รอบๆจะไม่ชัดเท่าตรงกลางนั้นเอง

    ดังนั้นเมื่อจอประสาทตาเสื่อมสภาพลง จะทำให้ภาพการมองเห็นมีผลกับตรงกลางภาพมากกว่าส่วนอื่นๆของภาพนั่นเอง

    แล้วจอประสาทตาเสื่อม เกิดจากอะไร? ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าปัจจัยใดทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อม แต่จอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งส่วนใหญ่เกิดจากอายุที่มากขึ้น เซลล์ที่ตอบสนองต่อแสงในจอประสาทตาค่อยๆเสื่อมสภาพและหายไปอย่างช้าๆ หรือเยื่อหุ้มในชั้นที่อยู่ใกล้จอตาค่อยๆบางลงจนมีผลต่อจอประสาทตา ทำให้ภาพการมองเห็นส่วนกลางภาพค่อยๆแย่ลงนั่นเอง

    ส่วนจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกนี้ คาดว่าส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรมที่เมื่อถึงอายุหนึ่งเส้นเลือดที่ผิดปกติหลังจอตาจะบวมหรือแตกออก ทำให้เกิดเลือดคั่งจนดันให้จอตา (Retina) บวมมากกว่าปกติจนส่งผลต่อจอประสาทตา (Macula) ทำให้เกิดจุดบอดตรงกลางภาพได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง

    จอประสาทตาเสื่อม

    อาการจอประสาทตาเสื่อม โดยทั่วไปมีดังนี้

    • การมองเห็นแย่ลง โดยเฉพาะส่วนกลางภาพ จะเห็นเป็นภาพเบลอหรือเห็นเป็นสีเทาดำมืดไปเลย อาจจะเกิดขึ้นกับตาข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้
    • ภาพการมองเห็นบิดเบี้ยวผิดรูป
    • ต้องใช้แสงสว่างมากกว่าปกติเพื่อให้มองเห็นชัด และมองเห็นได้น้อยลงเมื่ออยู่ในที่แสงน้อย
    • ต้องใช้แสงมากขึ้นเพื่อมองเห็นสี โดยปกติแล้วหากอยู่ในที่มืดดวงตาคนเราจะเห็นภาพเป็นสีขาวดำ เมื่อมีแสงสว่างประมาณหนึ่งจึงจะเห็นสี แต่ผู้ที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมจะต้องใช้แสงสว่างมากกว่าคนทั่วไปในการมองเห็นสีนั่นเอง
    • แยกใบหน้าได้น้อยลง เนื่องจากภาพการมองเห็นไม่ชัดเท่าเดิม
    • อ่านหนังสือยากขึ้น

    สัญญาณเตือนและแนวทางการรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม

    อาการเริ่มต้นของแต่ละชนิดนั้นต่างกัน หากเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกจะสามารถสังเกตอาการได้ง่ายกว่า เนื่องจากอาการจะรุนแรงขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ในโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งนั้น ในช่วงแรงผู้ป่วยจะสังเกตอาการได้ยากมาก หรือในบางรายจะไม่แสดงอาการเลย แต่สามารถตรวจพบได้หากเข้าพบกับจักษุแพทย์

    ในกรณีที่โรคแสดงอาการ โรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งจะทำให้ผู้ป่วยเริ่มเห็นภาพมัวลง ไม่ชัดเท่าเดิม เส้นที่เคยเห็นเป็นเส้นตรงจะดูเบี้ยวและคดเคี้ยวมากขึ้น เมื่อเริ่มเป็นหนักขึ้นช่วงกลางภาพการมองเห็น จะเป็นสีเทาหรือสีดำ ซึ่งเป็นการสูญเสียการมองเห็นไปบางส่วนนั่นเอง

    จอประสาทตาเสื่อม รักษาด้วยวิธีการที่แตกต่างกันตามชนิดของโรค หากเป็นจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้เพื่อไม่ให้โรคลุกลามมากกว่าเดิม และไม่ให้พัฒนาไปเป็นจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกที่อันตรายกว่า

    โดยแนวทางการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการลุกลามของโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งที่แพทย์แนะนำ มีดังนี้

    1. มาตามนัดติดตามผลของจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพราะหากอาการแย่ลงจะได้รักษาได้ทัน
    2. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะการมองเห็นที่เสียไปแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับเป็นแบบเดิมได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีวินัยอย่างมาก
    3. งดสูบบุหรี่
    4. ควบคุมโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยการดูแลตัวเองและทำตามคำแนะนำของแพทย์อยู่เสมอ
    5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่ช่วยชะลอจอประสาทตาเสื่อม ได้แก่อาหารที่มีส่วนประกอบของวิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน แร่ธาตุสังกะสี ทองแดง และลูทีน ซึ่งพบได้ในผักผลไม้ และจะพบมากในผักใบเขียว หากไม่สามารถทานผักผลไม้เป็นประจำ สามารถทานเป็นอาหารเสริมแทนได้ แต่ก็ไม่ควรทานเยอะจนเกินไป

    ในกรณีที่สูญเสียการมองเห็นส่วนกลางภาพไปแล้ว จะมีวิธีรักษาที่เรียกว่า The implantable miniature telescope (IMT) เป็นการรักษาโดยการผ่าตัดใส่กล้องโทรทัศน์ขนาดเล็กเข้าไปที่ดวงตา เพื่อเปลี่ยนจุดรับแสงที่เป็นจุดโฟกัสกลางภาพ จากจอประสาทตาที่เสียหายไปแล้ว เป็นจอตาในส่วนอื่นๆที่ยังสุขภาพดีอยู่ เพื่อให้การมองเห็นกลับมาใช้งานได้ใกล้เคียงกับปกติ

    แต่การรักษานี้มีข้อจำกัดหลายอย่าง ผู้เข้ารับการรักษาต้องอายุ 75 ปีขึ้นไป เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งที่อาการหนัก ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการอื่นได้อีก และต้องไม่เคยเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาในการรักษาโรคต้อกระจกมาก่อน

    ส่วนในผู้ที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการดังนี้

    • การฉายแสงเลเซอร์ 

    การฉายเลเซอร์เพื่อรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกมี 2 วิธี ได้แก่

    1. Laser Photocoagulation วิธีการฉายเลเซอร์แบบนี้ จะใช้เลเซอร์พลังงานสูงยิงเข้าที่จอตาในส่วนที่มีเส้นเลือดผิดปกติ ความร้อนของเลเซอร์จะทำให้เลือดไม่ไหลออกจากเส้นเลือด หรือทำให้เลือดออกช้าลง สามารถชะลออาการของโรคได้ แต่วิธีการนี้มีข้อเสียคือความร้อนของเลเซอร์จะทำให้จอตาบางส่วนถูกทำลายไปด้วย ผู้ป่วยจะเกิดจุดมืดที่บางตำแหน่งของการมองเห็นอย่างถาวร
    2. Photodynamic Therapy หรือ PDT เป็นวิธีการรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ร่วมกับการใช้ยา โดยแพทย์จะฉีดยาดังกล่าวเข้าสู่ร่างกาย เมื่อยาไปจับบนเส้นเลือดผิดปกติที่ดวงตาแล้ว แพทย์จะยิงเลเซอร์เข้าไปในบริเวณจอตา ตัวเลเซอร์จะไปกระตุ้นตัวยาให้ออกฤทธิ์ ทำให้เส้นเลือดที่ผิดปกติอุดตันและฝ่อไปในที่สุด การรักษาด้วยวิธีนี้ตัวยาและเลเซอร์จะออกฤทธิ์เฉพาะที่ทำให้หลังการรักษาจอตาไม่ถูกทำลายไปด้วยเหมือนกับวิธีแรก แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือตัวยาที่ฉีดเข้าร่างกายอาจทำให้เกิดอันตรายกับดวงตาหากถูกแสงโดยตรงในช่วงแรก และอาจจะมีผลข้างเคียงทำให้ปวดหลังหรือร่างกายส่วนอื่นๆ ได้
    • การฉีดยาในกลุ่ม Anti-VEGF

    ยา Anti – VEGF หรือ Anti – Vascular Endothelial Growth Factor เป็นยาสำหรับฉีดโดยแพทย์ ช่วยให้เส้นเลือดผิดปกติที่เป็นต้นเหตุของโรคฝ่อไป แพทย์จะฉีดยานี้เข้าที่ตาขาว เพื่อให้ตัวยาเข้าไปที่น้ำเลี้ยงในลูกตา และไปออกฤทธิ์ที่เส้นเลือดผิดปกติโดยตรง เป็นวิธีรักษาที่ต้นเหตุ เห็นผลเร็ว และผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้สึกเจ็บขณะฉีดยา แต่วิธีการนี้มีข้อเสียเช่นกัน คือผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์บ่อย ช่วงแรกๆอาจจะต้องมาพบแพทย์เพื่อฉีดยาประมาณเดือนละ 3 ครั้ง เมื่อเวลาผ่านไปอาจจะลดจำนวนลงโดยแพทย์จะดูตามอาการอีกครั้งหนึ่ง

    • การผ่าตัดรักษาจอประสาทตาเสื่อม

    การผ่าตัดรักษาจอประสาทตาเสื่อมจะเป็นการผ่าตัดเพื่อนำเส้นเลือดที่ผิดปกติ หรือนำเลือดที่คั่งอยู่หลังจอตาออกไป โดยวิธีการนี้เป็นวิธีการรักษาที่ไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่นัก เนื่องจากเป็นการรักษาที่ไม่เห็นผลเท่าที่ควร

    ผู้ป่วยแต่ละรายต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีใดนั้น จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของจักษุแพทย์เจ้าของไข้ ส่วนอาการหลังการรักษาก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดใด และเป็นในระยะใด หากเป็นจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง จะยังไม่มีวิธีรักษา อาการหลังปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์จะไม่ได้หายขาดหรือการมองเห็นดีขึ้น แต่จะช่วยไม่ให้สายตาแย่ลงกว่าเดิม

    ส่วนผลการรักษาหลังจากเข้ารับการรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียกนั้น หากอาการก่อนการรักษาไม่หนักมาก ก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะกลับมามีสายตาที่ปกติหรือใกล้เคียงกับปกติได้ แต่ถ้าอาการแย่อยู่แล้วตั้งแต่ต้น หลังการรักษาอาการจะไม่ได้ดีขึ้นมากนัก แต่ก็จะไม่แย่ลงไปกว่าเดิม ทั้งนี้ผลการรักษาขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคลด้วย

    วิธีป้องกันจอประสาทตาเสื่อม

    วิธีการป้องกันจอประสาทตาเสื่อมนั้น คล้ายกับการรักษาจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้ง คือต้องงดสูบบุหรี่ ควบคุมโรคที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดจอประสาทตาเสื่อม และทานอาหารที่มีประโยชน์ หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม ควรเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจดวงตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรทานอาหารที่มีส่วนประกอบของวิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน แร่ธาตุสังกะสี ทองแดง และลูทีน เพื่อป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะเป็นการดีที่สุด

    จอประสาทตาเสื่อมส่วนใหญ่เป็นโรคที่รักษาไม่ได้ ทำได้แค่ชะลอให้เกิดช้าลง เพื่อให้ใช้งานดวงตาได้นานขึ้นเท่านั้น ดังนั้นผู้ที่รู้ตัวว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ให้พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้อื่นๆให้มากที่สุด เพราะหากสูญเสียการมองเห็นบางส่วนไปแล้ว ก็จะเสียไปเลย ไม่สามารถแก้ไขได้ หรือแก้ไขได้ยาก การใช้ชีวิตประจำวันก็จะยากขึ้นมากอีกด้วย

    ที่มา

     

    ติตดามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  heavensgaterivercottages.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369.net

Economy

  • เงินเฟ้อสเปน ทำ Elite ล้ม พ่อค้าวานิชผงาด
    เงินเฟ้อสเปน ทำ Elite ล้ม พ่อค้าวานิชผงาด

    ทุกวันนี้เจอแต่ข่าวของแพง เงินเฟ้อกันทั่วโลก ราคาสินค้าพุ่งแรงในรอบหลายปี จะเติมน้ำมันแต่ละทีต้องคิดแล้วคิดอีก แต่วิกฤตการณ์เงินเฟ้อไทยไม่ใช่เรื่องใหม่ ย้อนกลับไปหลายศตวรรษ วิกฤต เงินเฟ้อสเปน ในศตวรรษที่ 16 ก็ทำให้ดินแดนแห่งวัวกระทิงเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมใหญ่เหมือนกัน

    การปฏิวัติราคา คืออะไร?

    การปฏิวัติราคา (Spanish Price Revolution) เป็นคำเรียกวิกฤติการณ์การเงินในจักรวรรดิสเปน (Spanish Empire) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17 ที่ส่งผลกระทบถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างฝรั่งเศส เยอรมนี และอังกฤษ รวมถึงยุโรปภาคพื้นทวีปโดยรวม ราคาสินค้าต่าง ๆ พุ่งทะยานจนรัฐไม่อาจควบคุมได้

    สเปนเผชิญปัญหาเงินเฟ้อขั้นรุนแรงอันเป็นผลมาจากการค้นพบแหล่งแร่ทองคำและเงินในโลกใหม่ (New World) หรือทวีปอเมริกาในครั้งนั้น ภาวะเงินเฟ้อที่ว่าดำเนินต่อไปอีกกว่าศตวรรษ เศรษฐกิจที่ตกต่ำส่งผลให้ประเทศมหาอำนาจล่มสลาย ในขณะที่ดินแดนอื่นที่ปรับตัวได้ต่างพากันก้าวเข้าสู่ยุคทุนนิยมอย่างเต็มตัว

    การค้นพบสินแร่ในโลกใหม่ จุดเริ่มต้น วิกฤต เงินเฟ้อสเปน

    นับตั้งแต่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาในค.ศ. 1492 พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 (Ferdinand II) และกษัตริย์สเปนองค์ต่อๆ มาต่างไม่รอช้า พากันส่งกองทัพเข้าครอบครองดินแดนโลกใหม่ สเปนต้องการทวงคืนความยิ่งใหญ่หลังตกอยู่ใต้การปกครองของพวกมัวร์ (Moors) จากแอฟริกาเหนือนานกว่า 8 ศตวรรษ

    จักรวรรดิสเปนถือกำเนิดในครั้งนั้น ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา เหล่าผู้พิชิต (Conquistadors) ชาวสเปนออกล่าอาณานิคมโพ้นทะเลอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการยึดครองเม็กซิโกและอเมริกากลางในปี 1521 เปรูในปี 1533 และโบลิเวียในปี 1545

    การล่าอาณานิคมไม่ได้เป็นไปเพื่อประกาศศักดาให้โลกรู้เท่านั้น แต่ดินแดนอีกฟากฝั่งมหาสมุทรยังนำมาซึ่งความมั่งคั่งมหาศาล ชาวสเปนยึดเหมืองทองจักรวรรดิแอซแท็ก (Aztec Empire) ในเม็กซิโกมาเป็นของตัวเอง ทว่าทองคำที่ค้นพบกลับเทียบไม่ได้กับภูเขาแร่เงินที่โปโตซี (Potosí) ในประเทศโบลิเวีย พวกเขาเรียกภูเขานี้ว่า เซอร์โร ริโก (Cerro Rico) ที่มีความหมายว่า ภูเขาแห่งความมั่งคั่ง ชื่อที่ตั้งขึ้นไม่ได้เกินกว่าความเป็นจริงแต่อย่างใด

    สเปนตั้งโรงกษาปณ์ 2 แห่งในทวีปอเมริกาที่เม็กซิโกซิตี้และลิมา (Lima) เพื่อผลิตเหรียญเงินส่งกลับประเทศแม่ แต่ละปีชาวสเปนในโลกใหม่ส่งเหรียญเงินและทองกลับประเทศหลายร้อยตัน ดังตารางด้านล่าง

    จำนวนแร่เงินจากทวีปอเมริกาที่หลั่งไหลเข้ามาในสเปน

    ปี 1550 – 1599 17,000 ตัน

    ปี 1600 – 1699 42,000 ตัน

    ส่วน ปี 1700 – 1799 74,000 ตัน

    นอกจากจะนำเหรียญเงินส่งกลับประเทศแล้ว เหรียญกษาปณ์ที่ผลิตในเม็กซิโกและเปรูยังกลายเป็นสกุลเงินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอเมริกาเหนือและหมู่เกาะแคริบเบียนจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18ความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิสเปน

    ดังที่กล่าวถึงการพบแหล่งแร่ไปก่อนหน้า หากพูดว่าจักรวรรดิสเปนก้าวขึ้นมามีอำนาจเพราะสินแร่จากทวีปอเมริกาคงไม่ผิด สถานะของสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ทำให้หลายประเทศต้องอิจฉา ทั้งราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 1 (Elizabeth I) และพระเจ้าเจมส์ (James I) แห่งอังกฤษ ต่างบัญชากองเรือตนให้เดินทางข้ามท้องน้ำแอตแลนติกเพื่อออกล่าอาณานิคม ทว่าไม่มีผู้นำอาณาจักรใดครอบครองแหล่งทำเงินเช่นเดียวกับสเปน

    นอกจากทองคำและแร่เงินแล้ว ดินแดนอเมริกากลางและหมู่เกาะแคริบเบียนยังเป็นแหล่งปลูกพืชเมืองร้อนชั้นดี ไม่ว่าจะเป็นยาสูบ ฝ้าย อ้อย ฯลฯ พืชเศรษฐกิจเหล่านี้นำรายได้มหาศาลสู่จักรวรรดิสเปนเช่นกัน ราชสำนักนำเงินที่ได้มาใช้บำรุงกองทัพเพื่อออกล่าดินแดนต่อไป ภายในเวลาไม่ถึงศตวรรษ จักรวรรดิสเปนก็มีอาณาเขตแผ่ขยายตั้งแต่ทวีปยุโรปไปจนถึงอเมริกา โอเชียเนีย และเอเชีย กลายเป็นจักรวรรดิที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกขณะนั้น

    เงินเฟ้อสเปน 2

    วิกฤต เงินเฟ้อสเปน ทำให้จักรวรรดิอ่อนแอ

    แม้กลายเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ ทว่าชนชั้นปกครองปกครองในสเปนกลับไม่ได้เตรียมการรับมือกับการขยายตัวอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจ จักรวรรดิจึงเผชิญกับปัญหาทางการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วิกฤติเงินเฟ้อในสเปน (Spanish Inflation) เริ่มขึ้นปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 การหลั่งไหลเข้ามาของทองคำและเงินตราส่งผลให้ราคาสินค้าในสเปนเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ

    ไม่เพียงแต่ในสเปนเท่านั้น ทว่าเงินทองที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจยุโรปยังผลให้ประเทศเพื่อนบ้านได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17 ราคาสินค้าในสเปนพุ่งทะยานมากกว่า 3 เท่าตัว

    การก้าวกระโดดของราคาสินค้าในครั้งนั้นถูกเรียกในเวลาต่อมาว่าการปฏิวัติราคาดังที่กล่าวถึงไปในข้างต้น ผู้ประกอบการในประเทศจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้าเพราะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูง ชาวสเปนจึงหันมาซื้อสินค้าต่างประเทศที่ราคาถูกกว่า ส่งผลให้ในปีปีหนึ่ง เงินตราสเปนไหลออกนอกประเทศปริมาณมหาศาล ยิ่งไปกว่านั้น การล่าอาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเลและสงครามชิงบัลลังก์ในจักรวรรดิยังนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งกำลังคนและสินทรัพย์

    ตั้งแต่ปี 1650 เป็นต้นมา ราชสำนักสเปนที่ตระหนักถึงปัญหาที่ว่าได้ตรากฏหมายห้ามพ่อค้านำเงินออกนอกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ทว่านักธุรกิจยังคงหาช่องทางลักลอบขนเงินออกนอกประเทศโดยไม่หวั่นเกรงโทษทัณฑ์ ปัญหาเศรษฐกิจในสเปนที่ไม่เคยได้รับการแก้ไขจึงนำจักรวรรดิไปสู่ความล่มสลายในที่สุด

    จุดสิ้นสุดความรุ่งโรจน์

    หากคิดว่าภาวะเงินเฟ้อในสเปนคือหายนะหนึ่งเดียวในคริสต์ศตวรรษที่ 17 แล้วละก็ พี่ทุยคงต้องบอกว่ายังมีเรื่องที่น่าเศร้ายิ่งกว่านั้น

    ทุกวันนี้เราถูกสอนในโรงเรียนว่า แร่ธาตุคือทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (Nonrenewable Resources) ไม่อาจหาสิ่งใหม่มาแทนในเวลาอันสั้นได้ ทว่าชาวสเปนในยุคทองไม่ได้ร่ำเรียนเรื่องนี้เหมือนกับเรา

    ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้ประกอบการเหมืองแร่ชาวสเปนต่างประสบปัญหาขาดทุนย่อยยับ สาเหตุเป็นเพราะแร่ทองและเงินที่มีจำนวนลดลง ชาวสเปนในครั้งนั้นไม่มีเทคโนโลยีการทำเหมืองที่ทันสมัย วิธีเดียวที่จะได้สินแร่คือการขุดถ้ำและภูเขาลึกลงไปเรื่อย ๆ ทำให้คนงานต้องเสี่ยงกับอันตรายจากดินถล่มและแก๊สพิษที่เกิดจากการทำเหมือง

    แรกเริ่มเดิมที เจ้าอาณานิคมบังคับใช้แรงงานคนท้องถิ่นในอเมริกา ทว่าในเวลาต่อมา พวกเขาหันมาซื้อหาแรงงานทาสจากแอฟริกาที่มีร่างกายแข็งแรง สามารถทนต่องานหนักและสภาพแวดล้อมโหดร้ายได้อย่างดี

    อย่างไรก็ตาม การทำงานบนภูเขาสูงในโบลิเวียส่งผลให้เหล่าทาสล้มตายจากโรคพื้นที่สูง (Altitude Sickness) และแก๊สพิษในเหมืองเงิน นอกจากนี้สภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้ายทำให้ทาสชายหญิงป่วยไข้จนไม่อาจมีบุตรได้ เจ้าของเหมืองจึงต้องซื้อทาสใหม่ในราคาสูงมาแทนที่คนงานที่เสียชีวิต

    ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายทาส บวกกับสินแร่ที่หาได้ยากขึ้นทุกวันทำให้ชาวสเปนมากมายละทิ้งกิจการเหมืองแร่ในทวีปอเมริกา เมื่อเงินทองที่เคยใช้จุนเจือเศรษฐกิจของประเทศหมดลง สเปนจึงตกอยู่ในภาวะใกล้ล้มละลายปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 และในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 จักรวรรดิก็สูญสิ้นอำนาจ เปิดทางให้มหาอำนาจใหม่อย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลแลนด์ก้าวขึ้นมามีบทบาทในสากลโลก

    และในปี 1794 เมื่อประเทศเกิดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกาที่ต้องการผลิตเงินสกุลของตัวเอง พวกเขาก็ได้นำเหรียญเปโซ (Peso) ของสเปนมาเป็นต้นแบบในการผลิตเงินดอลลาร์ แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลเงินสเปนที่คงอยู่ต่อไปหลายศตวรรษ

    ผลกระทบจากการปฏิวัติราคา

    ปัญหาเงินเฟ้อในสเปนก่อเกิดผลกระทบกับคนทุกชนชั้น ตั้งแต่ชาวนาไปจนถึงพระราชา ราชสำนักสเปนประสบปัญหาการเก็บภาษีที่ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่หมดไปกับการทำสงครามในบต่างแดน ขุนนางท้องถิ่นและเจ้าของที่ดินเองก็ยากจนลงเพราะยังคงเก็บค่าที่ด้วยราคาเท่าเดิม เช่นเดียวกับเกษตรกรที่ค่าจ้างไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่กลับต้องเสียเงินมากมายเพื่อซื้อหาสินค้าอุปโภคบริโภค เกษตรกรเหล่านี้กลายมาเป็นแรงงานไร้ฝีมือตามเมืองต่าง ๆ เพื่อเอาตัวรอดไปวันๆ

    คนกลุ่มเดียวที่ได้ผลประโยชน์จากการปฏิวัติราคาคือพ่อค้า นักธุรกิจกลายมาเป็นชนชั้นนำในประเทศ ราคาข้าวของที่พุ่งทะยานมีแต่จะทำให้พวกเขามั่งคั่งขึ้นเท่านั้น บรรดาพ่อค้าหันมาลงทุนทำกิจการข้ามน้ำข้ามทะเล ศูนย์กลางการค้าโลกตะวันตกจึงเปลี่ยนจากทะเลเมดิเตอเรเนียนมาเป็นมหาสมุทรแอตแลนติก เมืองท่าต่าง ๆ ผุดขึ้นในอเมริกาและแคริบเบียนเป็นดอกเห็ด

    และเนื่องจากเรือสินค้ามุ่งหน้าสู่แอตแลนติกทุกๆ วัน อาชีพใหม่ในยุคนั้นอย่างโจรสลัดดักปล้นเรือสินค้าและทหารรับจ้างที่ถูกเรียกมาคุ้มกันกองเรือจึงเฟื่องฟูเหมือนกับในภาพยนตร์เรื่อง Pirates of the Caribbean ที่หลายคนชื่นชอบ คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 18 จึงถือเป็นยุคทองของเหล่าโจรสลัด ควบคู่ไปกับกลุ่มพ่อค้าในโลกใหม่

    ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวไป การปฏิวัติราคาในสเปนได้นำพายุโรปเข้าสู่ศักราชใหม่ ระบบเจ้าขุนมูลนาย (Feudalism) ถูกทำลายด้วยอำนาจเงินตราของนักธุรกิจ ส่งผลให้โลกตะวันตกเข้าสู่ยุคทุนนิยมอย่างเต็มตัวในคริสต์ศตวรรษที่ 18

    และแม้ว่าจักรวรรดิสเปนจะยืนยงมาจนถึงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทว่าก็ไม่อาจกลับมาผงาดในสากลโลกได้เหมือนเก่า จึงอาจกล่าวได้ว่า สินแร่ล้ำค่าอย่างทองคำและแร่เงินนำพาสเปนไปสู่ความยิ่งใหญ่และล่มสลายในเวลาเดียวกัน นี่จึงเป็นบทเรียนของผู้ศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจในยุคหลังไม่ให้เผลอลงทุนอย่างเลินเล่อ จนเป็นเหตุให้ล้มละลายอย่างถอนตัวไม่กลับ


    ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    สเต็ป เคอรี่ผู้ปลาบปลื้มใจจมนกอินทรีวอล์กออฟเพื่อชนะ
    วิธีเลือก ไฟเพดาน
    Dirk Nowitzki ดาราที่เกษียณแล้ว
    วูล์ฟแฮมป์ตัน ขยี้ คลอปป์ ไม่นับประตู ลิเวอร์พูล
    ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://www.heavensgaterivercottages.com/
    สนับสนุนโดย  ufabet369
    ที่มา www.moneybuffalo.in.th